การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

เด็ก

ภายหลังจากการปฏิสนธิ ฮอร์โมนจากรกจะกระตุ้นรังไข่ให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นเต้านม โดยเฉพาะต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม ตลอดจนเพิ่มกระแสเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเพื่อให้เต้านมพร้อมที่จะเป็นคุณแม่อย่างสมบูรณ์ นมแม่สร้างและผลิตจากเซลล์ที่บุอยู่ภายในกระเปาะขนาดเล็กของเนื้อเต้านม หล่อเลี้ยงจากเส้นเลือดบริเวณหน้าอก จนค่อย ๆ ผลิตน้ำนมทีละเล็กทีละน้อยแล้วเก็บสะสมอยู่ภายใน เมื่อลูกน้อยดูดกระตุ้นจะทำให้น้ำนมที่เก็บไว้นั้นขับออกมาจากกระเปาะผ่านเส้นทางของท่อน้ำนมจนไหลออกมาที่หัวนม ขณะที่ทารกดูดนมจะเป็นการกระตุ้นต่อมใต้สมองให้สร้างฮอร์โมนโปรแลคตินที่จะกระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนม การดูดนมแม่ของทารกจึงช่วยให้ร่างกายของแม่ผลิตน้ำนมได้อย่างต่อเนื่อง

 

ประโยชน์ของนมแม่เรียกได้ว่าเป็น วัคซีนหยดแรก ของชีวิตลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถให้นานกว่า 6 เดือนได้ยิ่งดี โดย 6 เดือนแรกของชีวิตเป็นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (Exclusive breastfeeding: ECBF) เพราะน้ำนมแม่นั้นสร้างจากธรรมชาติ ย่อยง่าย ปลอดภัย เหมาะกับร่างกายของทารก ทั้งยังมีสารอาหารเพียงพอ ดีต่อระบบการย่อยและดูดซึมของทารกที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จากนั้นในช่วงวัย 6 เดือนขึ้นไป สามารถให้นมแม่ควบคู่กับอาหารชนิดอื่นตามวัยอย่างน้อย 2 ปี หรือนานกว่านั้นได้ยิ่งดี ยิ่งช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง

 

น้ำนมแม่นั้นมีประโยชน์มหาศาล ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย เช่น ช่วยลดอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคท้องเสียจากการติดเชื้อ ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ลดความรุนแรงจากอาการป่วยด้วยโรคหลอดลมฝอยอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV และในสถานการณ์โรคระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางยูนิเซฟก็ยังสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะในน้ำนมของแม่มีสารภูมิคุ้มกันที่ปกป้องลูกน้อยจากการติดเชื้อ โดยสารภูมิคุ้มกันและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีอยู่ในน้ำนมแม่ จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย

 

อัพเดทข่าวเด็ก มาใหม่ แนะนำเพิ่มเติม : ป่วยแต่ตรวจ ATK ไม่ขึ้นสองขีด ให้เด็กหยุดเรียนทันที หมอย้ำโควิดรอบนี้ต้องกินยาให้เร็ว

ป่วยแต่ตรวจ ATK ไม่ขึ้นสองขีด ให้เด็กหยุดเรียนทันที หมอย้ำโควิดรอบนี้ต้องกินยาให้เร็ว

ป่วยแต่ตรวจ ATK ไม่ขึ้นสองขีด ให้เด็กหยุดเรียนทันที หมอย้ำโควิดรอบนี้ต้องกินยาให้เร็ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเตือนการดูแลเด็กในช่วงโควิดกลับมาระบาดอีกครั้ง ว่า

โรงเรียนอนุบาล ประถมตรวจ ATK อาจขึ้นช้า ถ้าเด็กมีอาการให้อยู่บ้านก่อนดีกว่า เพราะอาจเป็นไวรัสอื่นๆ ที่แพร่ก็ได้

จากนั้นก็มีพ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยพบว่าลูกหลานของตัวเองมีอาการตรวจ ATK วันแรกไม่ขึ้น ผ่านไป 2-3 วันขึ้น 2 ขีด ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนขอร้องหากลูกหลานใครมีอาการให้หยุดเรียนไว้ก่อน เพื่อจะไม่ได้แพร่เชื้อต่อเพื่อนๆ ที่โรงเรียน

นอกจากนี้ นพ.ธีระวัฒน์ยังแนะผู้ใหญ่ต้องคอยสังเกตอาการตัวเอง ไม่ต้องรอขึ้น 2 ขีด ดังนี้

1. อย่าถามว่าประเทศอื่น คนอื่น ทำไมไม่ใส่หน้ากาก ไม่กลัวโควิด

2. ถามตัวเองก่อนว่า ถ้าติดมีความเสี่ยง อาการหนัก ตาย เท่าไร ซึ่งขึ้นกับ ต้นทุนสุขภาพตนเอง ฉีดวัคซีนแล้ว 3 เข็มหรือยัง วัคซีนเข็ม 4 มีความหมาย โดยเฉพาะคนเปราะบาง และ 608 ถ้าเคยติดแล้ว (ถือเป็นต้นทุน)

3. ถามตัวเองว่า ถ้าติดแล้ว ไม่เป็นไร แต่ผลกระทบไปแพร่ให้ลูก หลาน พ่อ แม่ แล้วต้องหยุดงาน กักตัว และถ้าเกิดมีลองโควิดที่ตามมา

4. ถ้าดูสถิติ ประเทศอื่น อย่าดูแต่จำนวนติด ดูจำนวนเข้าโรงพยาบาล ข้อสำคัญ แต่ละประเทศ จำนวนเข้ารพ. จะต่างกัน เพราะมีความต่างทั้งตัวเชื้อ ทั้งคน ทั้งการรักษาได้ทันที ที่ร้านขายยา แค่ไหนอย่างไร

ดังนั้น ข้อสำคัญเราคงต้องดูข้อมูลเมืองไทยเป็นหลัก วันต่อวัน ถึงความรุนแรง และประเมินต้นทุนตนเอง “ถ้ามีอาการอย่าดูว่า 2 ขีด ค่อยกระตือรือร้น ค่อยแยกตัว ค่อยกินยา สายไปแล้ว แพร่ไปแล้วยาขณะนี้ ต้องกินเร็ว ทันทีที่มีอาการ ช้าไป ประสิทธิภาพลดลง เริ่มมีอาการ จัดการตัวเองเลย 2 ขีด มาเชื่องช้าได้แน่นอน” นพ.ธีระวัฒน์กล่าว